“ราชบุรี”
ภาษาบาลีวันละคำวันนี้ขอเสนอคำว่า
จังหวัดราชบุรี
ราชบุรีเมืองราชามหากษัตริย์
มีประวัติเก่าก่อนตอนเล่าขาน
เคยรุ่งเรืองวัฒนามาช้านาน
เป็นหน้าด่านปกป้องพ้นผองภัย
มีคนสวยโพธารามงามน่ารัก
คนงามนักบ้านโป่งแสนสดใส
เมืองโอ่งมังกรขายดีทุกที่ไกล
วัดขนอนหนังใหญ่ได้ชื่นชม
ตื่นใจถ้ำงามตามธรรมชาติ
อีกท่องเที่ยวตลาดน้ำดำเนินสม
เพลินค้างคาวร้อยล้านตระการนิยม
ย่านยี่สกปลาดีชมอุดมดีฯ
“ราชบุรี”
อ่านว่า ราด-บุ-รี หรือ ราด-ชะ-บุ-รี
แปลว่า เมืองพระราชา
ประกอบด้วย ราช + บุรี
“ราช”
“ราช” บาลีอ่านว่า รา-ชะ
“ราช” มีรากศัพท์เดียวกับ “ราษฏร”
แต่มีความหมายที่แตกต่างกัน
“ราษฏร”
“ราษฏร” เป็นคำสันสกฤตคือ “ราษฺฏฺร”
“ราษฺฏฺร” หมายถึง ประชาชน
“ราษฏร” ภาษาบาลีคือ “รฏฺฐ”
“รฏฺฐ” หมายถึง แว่น แคว้น หรือ ประชาชนผู้อาศัย
“รฏฺฐ” ภาษาไทยใช้ “รัฐ”
“ราช” ในภาษาสันสกฤตมี 3 คำ
(1) “ราช” (rāja) ราชา ,ราชะ
(2) “ราชนฺ” (rājan) ราชัน
(3) “ราชฺ” (rāj) ราช
แต่ละคำนั้นต่างกันตรงเสียงท้าย
“ราช” ภาษาอังกฤษว่า “king”
“ราช” ในภาษาละตินว่า “rex”
“rex” แปลว่า พระมหากษัตริย์
“rex” ภาษาละติน ใช้คำย่อตัว “R“
แปลว่า พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน
ใช้หน้าคำจะหมายถึง เป็นของพระเจ้าแผ่นดินหรือเกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน เช่น “ราชการ”
“บุรี”
“บุรี” ภาษาบาลี “ปุร”
“ปุร” อ่านว่า ปุ-ระ
“ปุร” แปลว่า เมือง
“ปุระ” ภาษาสันสกฤตใช้ “pura”
“ปุระ” ภาษากรีก “Polis”
มีความหมายเดียวกับ “buri” หรือ “bury”
“buri” หรือ “bury” มีรากศัพท์มาจาก “Prussian”
“Prussian” ปรัสเซีย หรือ พร็อยเซิน
“ปรัสเซีย หรือ พร็อยเซิน” ภาษาเยอรมัน (Preußen) หรือ “โบรุสซีอา” ในภาษละติน Borussia
โบรุสซีอา คือรัฐที่รุ่งเรืองที่สุดในบรรดารัฐทั้งหลายของชนชาติเยอรมัน แปลว่า เมือง เช่นกัน
คำศัพท์ที่มีรากเดียวกับคำว่า “บุรี” ยังมีอีกมากมาย
เช่น
ประเทศอินเดีย เมือง Jaipur, Udaipur,
Khanpur, Vatapura, Rajwapura
ในปากีสถานมี Shikar Pur
สิงคโปร์มี Singapore = Singh + pur
“Singapore” ภาษาสันสกฤต “city of the lion”
ประเทศมาเลเซีย เมือง Kuala Lumpur
และ “borough” ยังมีรูปอื่นๆ เช่น
burg, burgh, ในประเทศสวีเดน นอร์เวย์
มีคำเรียกว่า “burg”ลงท้ายชื่อเมือง
Latin มีคำเรียกว่า “parcus”
Greek มีคำเรียกว่า “pyrgos”
แปลว่า fort, town ที่มีความหมายแฝงว่า
fortified แปลว่า แข็งแรง
ตัวอย่างชื่อเมือง เช่น St. Petersburg,
Pittsburgh, Hamburg, Middlesborough
ประวัติความเป็นมา
จังหวัดราชบุรีมีชื่ออันเป็นมงคลยิ่ง หมายถึง “เมืองพระราชา” ราชบุรีเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งของประเทศไทย จากการศึกษาและขุดค้นของนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดีพบว่า ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำแม่กลองแห่งนี้ เป็นถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของคนหลายยุคหลายสมัยและมีความรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต จากหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุมาก ทำให้เชื่อได้ว่ามีผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ตั้งแต่ยุคหินกลาง ตลอดจนได้ค้นพบเมืองโบราณสมัยทราวดีที่ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระยุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้เคยดำรงตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรีในสมัยกรุง ศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาและตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า เมืองราชบุรีเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญและเป็นสมรภูมิการรบหลายสมัย โดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ยกทัพมาตั้งรับศึกพม่าในเขตราชบุรีหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุดคือสงครามเก้าทัพ
ต่อมาพ.ศ.2360 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างกำแพงเมืองใหม่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลองตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพ.ศ.2437 ได้ทรงเปลี่ยนการปกครองส่วนภูมิภาคโดยรวมหัวเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกันตั้งขึ้นเป็นมณฑลและได้รวมเมืองราชบุรี เมืองกาญจนบุรี เมืองสมุทรสงคราม เมืองเพชรบุรี เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ รวม 6 เมือง ตั้งขึ้นเป็นมณฑลราชบุรี ตั้งที่บัญชาการมณฑล ณ ที่เมืองราชบุรีทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง (ปัจจุบันคือ ศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเก่า) ต่อมาในพ.ศ.2440 ได้ย้ายที่บัญชาการเมืองราชบุรีจากฝั่งซ้าย กลับมาตั้งรวมอยู่แห่งเดียวกับศาลาว่าการมณฑลราชุบรีทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง จนถึงพ.ศ.2476 เมื่อได้มีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลทั้งหมด มณฑลราชบุรีจึงถูกยกเลิกและคงฐานะเป็นจังหวัดราชุบรีจนถึงปัจจุบัน
ตราประจำจังหวัด
รูปเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ 2 สิ่ง คือ 1.พระแสงขรรค์ชัยศรี ประดิษฐานอยู่บนบันไดแก้ว 2.ฉลองพระบาทคู่ประดิษฐานอยู่บนพานทอง
คำขวัญประจำจังหวัด
คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนินเพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี
ภาษาบาลีวันละคำ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
ประธานโครงการ
พระราชญาณกวี (ปิยโสภณ)
วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
แต่งกลอนประกอบ
พระมหารัตนกวี ธมฺมโฆสโก
วัดนางชี ภาษีเจริญ กทม.
ค้นคว้า – วิเคราะห์
พระเจสัน ขันติโก วัดลาดปลาเค้า กทม.






